วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์


สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์กันนะคะ วันนี้จะขอนำเสนอทักษะพื้นฐานอย่างการเตะขากันก่อน

โดยมีลำดับขั้นตอนการฝึกเตะขาดังนี้

1. การเตะขา
1. การเตะขา การเตะขามีขั้นตอนในการฝึกดังนี้
ขั้นที่ 1
   นั่งเตะขาบริเวณขอบสระนั่งที่ขอบสระเอนตัวไปด้านหลังใช้แขนยันพื้นด้านหลังไว้ขาทั้งสองข้างเหยียดลงไปในน้ำปลายเท้างุ้มนิ้วเท้าเหยียดออกนิ้วหัวแม่เท้าหันเข้าหากันปล่อยตามสบายให้เป็นธรรมชาติเตะขาขึ้นลงสลับกันด้วยความเร็วสม่ำเสมอ
ขั้นที่ 2
        นอนคว่ำที่ขอบสระบนบกเตะขาในน้ำเปลี่ยนจากการนั่งเป็นนอนคว่ำที่ขอบสระบนบกเตะขาสลับขึ้นลงเช่นเดียวกับขั้นที่ 1
ขั้นที่ 3
        นอนคว่ำเตะขาในน้ำเกาะขอบสระลอยตัวในน้ำให้ก้มหน้าอยู่ในน้ำพร้อมหายใจออกทางปากเมื่อจะหายใจเข้าก็ให้ยกศีรษะขึ้นเหนือน้ำหายใจเข้าทางปากแล้วรีบก้มหน้าลงน้ำเตะขาสลับขึ้นลงเช่นเดียวกับขั้นที่ 1
ขั้นที่ 4
   จับคู่จูงบริเวณน้ำตื้นที่ยืนถึง โดยให้ผู้ฝึกและผู้ช่วยฝึกยืนหันหน้าเข้าหากันผู้ช่วยฝึกเหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า หงายฝ่ามือขึ้นงอนิ้วมือส่วนผู้ฝึกเตะขาเหยียดแขนตึงไปข้างหน้า คว่ำมือลงเกาะมือผู้ช่วยฝึกเมื่อผู้ฝึกเตะขาพร้อมผู้ช่วยฝึกก็เดินถอยหลัง ผู้ฝึกเหยียดขาลอยตัวขึ้นเตะขาสลับขึ้นลงลากจูงเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ขั้นที่ 5
      นั่งคุกเข่าฝ่าเท้ายันผนังสระหลังตรงชิดขอบสระยกแขนซ้ายและแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะฝ่ามือคว่ำลงสูดหายใจเข้าให้เต็มที่แล้วก้มหน้าตัวลงหน้าอยู่ในน้ำใช้ขาถีบขอบสระหรือพื้นสระพุ่งตัวไปข้างหน้า เท้าทั้งสองเตะสลับขึ้นลงไม่เกร็งปล่อยตามสบาย หน้ามองตรงไปข้างหน้าพร้อมกับหายใจออกทางปาก
เมื่อหมดอากาศให้ยืนขึ้น
ขั้นที่ 6
      ฝึกเช่นเดียวกับขั้นที่ 5 แต่เปลี่ยนจากการหยุดยืนขึ้นหายใจเข้าเป็นกดมือลงยกศีรษะขึ้นหายใจเข้าและยังคงเตะขาสลับขึ้นลงอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก
ขั้นที่ 7 
     การเตะขาแบบเคลื่อนที่ เมื่อสามารถฝึกเตะขาได้ตามทักษะแล้วให้นำทักษะการเตะขารวมการทักษะการนอนคว่ำหน้าพุ่งตัวลอยน้ำโดยเริ่มจากพุ่งตัวออกจากผนังสระให้ลำตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อความเร็วในถีบเท้าพุ่งตัวเริ่มลดลงให้เตะขาขึ้น-ลงส่งให้ลำตัวเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องโดยก้มศีรษะให้แขนทั้งสองข้างอยู่ชิดกับใบหูสายตาชำเลืองมองไปข้างหน้าเล็กน้อย




2. ท่าการโผตัว
       วิธีที่ 1 การโผตัวแบบไม่เตะขา
1.    นั่งคุกเข่า ฝ่าเท้าทั้งสองข้างยันผนังสระและหลังชิดผนังสระ
2.    ยกแขนทั้งสองเหยียดขึ้นตรงชิดใบหู คว่ำฝ่ามือซ้อนทับกัน หายใจเข้าลึกๆ
3.    ค่อยๆ ก้มตัวลง ให้หน้าอยู่ในน้ำ คางชิดอก
4.    พุ่งตัวไปข้างหน้าโดยอาศัยแรงส่งจากการถีบเท้าออกจากผนังขอบสระ โดยที่ลำตัว แขน ขา เหยียดตรง ขนานไปกับผิวน้ำ ปล่อยตัวตามสบาย
5.    เมื่อหมดแรงส่งแล้ว ใช้ฝ่ามือทั้งสองกดน้ำลงและดึงขาทั้งสองข้างเข้าหาลำตัว จากนั้นจึงกลับสู่ท่ายืน
       วิธีที่ 2 การโผตัวแบบเตะขา
มีวิธีการฝึกเช่นเดียวกับวิธีการโผตัวแบบไม่เตะขา แต่หลังจากพุ่งตัวออกไปแล้ว ให้เตะขาสลับขึ้นลง ลำตัว แขน และขาจะขนานไปกับผิวน้ำ
วิธีที่ 3 การโผตัวจากขอบสระ
1.   นั่งยองๆ บริเวณของสระใช้นิ้วเท้าเกี่ยวขอบสระไว้
2.   ยกแขนทั้งสองเหยียดขึ้นตรงชิดใบหู คว่ำฝ่ามือซ้อนทับกัน หายใจเข้าลึกๆ
3.   ค่อยๆก้มตัวลง ยกก้นขึ้นเล็กน้อยทิ้งน้ำหนักตัวไปที่แขน
4.   ก้มหน้าคางชิดอก ค่อยๆพุงตัวลงน้ำอาศัยแรงส่งจากการถีบเท้าออกจากขอบสระ
5.  เมื่อหมดแรงส่งแล้ว ใช้ฝ่ามือทั้งสองกดน้ำลงและดึงขาทั้งสองข้างเข้าหาลำตัว จากนั้นจึงกลับสู่ท่ายืน


3. การเลี้ยงตัวในน้ำ

การเลี้ยงตัวในน้ำ คือ การพยุงตัวให้อยู่ในน้ำได้ โดยการเคลื่อนไหวแขนและขาซึ่งมีทั้งการเลี้ยงตัวในแนวดิ่งและแนวราบขนานกับผิวน้ำซึ่งเหมือนกับการว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ แต่ให้ใช้มืออยู่ใต้น้ำไม่ยกพ้นน้ำและศีรษะไม่จมน้ำ

ลักษณะการเคลื่อนไหวของขาและแขน
การเคลื่อนไหวของขา มีด้วยกัน 3 วิธี
 วิธีที่ 1 ใช้เท้าเตะน้ำทั้งสองข้าง โดยโยกไปมาทางด้านหน้าและหลังในแบบกรรไกร
       
วิธีที่ 2 ใช้ขาเคลื่อนไหวแบบการว่ายน้ำขากบ ลักษณะถีบเท้า ตบเท้า เข้าหากันอยู่ตลอดเวลา
       
วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมกันนัก คือ การเคลื่อนไหวเท้าแบการวิ่งยกเข่าสูง ถีบน้ำอยู่ตลอดเวลา

การเคลื่อนไหวของแขน มีด้วยกัน 2 วิธี

วิธีที่ 1 การรวบแขนเข้าออก คือ กางแขนออกงอตรงข้อศอกเล็กน้อย ให้แขนขนานกับผิวน้ำ เหวี่ยงแขนเป็นวงกลมไปมาอยู่ใต้น้ำ กดแขนให้ลึกกว่าระดับอก ฝ่ามือคว่ำลงเพื่อกดน้ำให้ตัวลอยอยู่

วิธีที่ 2 งอแขนที่ข้อศอกแล้วกดน้ำขึ้นลง เพื่อสลับกันแบบสุนัขตกน้ำ ให้กดฝ่ามือขึ้นลงช้าๆ ลึกๆ ลักษณะของนิ้วมือเรียงชิดติดกัน เงยหน้าพ้นน้ำ มือสลับกันเป็นรูปวงรีไม่เหวี่ยงออกไปด้านข้าง ดึงน้ำให้มือไปแค่ระดับอก อีกมือสอดใต้น้ำไปทางด้านหน้าสลับกันไปมาให้ตลอดเวลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น